Dhammakaya FactSheet - ธรรมกาย

Dhammakaya and their wrong teachings!!! -Articles, Interviews & Newsclips -

Name:
Location: Bangkok, Thailand

The reason I've made this blog is because Dhammakaya is a cult, exploting Buddhism concept... Don't fall into their traps! Seek the right path, which is a real Buddha's way... ok? That's my warning.. :-)

Thursday, February 08, 2007

ยักยอกเงินบริจาควัด ปาราชิก แต่ ไม่ยอมสึก???

ศาลสั่งจำหน่ายคดีวัดพระธรรมกาย หลัง อสส.ยื่นคำร้อง ขอถอนฟ้อง“พระธัมมชโย” กับศิษย์ ฐานยักยอกเงินบริจาควัดกว่า 35 ล้าน ยกเหตุจำเลยคืนเงินวัดกว่า 950 ล้าน ทั้งยังเผยแผ่ศาสนาตามพระไตรปิฎก ตามพระลิขิตพระสังฆราชแล้ว ขณะที่คดีธรรมกายอีก 3 สำนวน อัยการพร้อมยุติคดีสั่งไม่ฟ้อง

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ศาลโดยนายสุนพ กีรติยุติ ผู้พิพากษาอาวุโส และองค์คณะ ออกนั่งบัลลังก์ มีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องในคดีดำหมายเลขที่11651/2542 และคดีดำหมายเลข 14735/2542 ที่ พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือ พระไชยบูลย์ ธัมมชโย หรือนายไชยบูลย์ สิทธิพล อายุ 62 ปี อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และนายถาวร พรหมถาวร อายุ 57 ปี ลูกศิษย์คนสนิท เป็นจำเลยที่ 1-2

ทั้งนี้ เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานและสนับสนุนเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ทำ จัดการ หรือรักษาทรัพย์ใด เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนเองหรือผู้อื่นโดยทุจริต และเป็นเจ้าพนักงานและสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต และโดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น

โดยร่วมกันยักยอกทรัพย์ และเงินบริจาคของวัดพระธรรมกาย จำนวน 6.8 ล้านบาท ไปซื้อที่ดินเขาพนมพา ต.หนองพระ อ.วังทรายมูล จ.พิจิตร โดยโอนกรรมสิทธิ์ใส่ชื่อนายถาวร จำเลยที่ 2
และเงินจำนวน 29,877,000 บาท ไปซื้อที่ดินเนื้อที่ 902 ไร่เศษ ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร และ ต.ท่าข้าม อ.ชนแดน จ. เพชรบูรณ์ โอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยที่ 2

คดีนี้เรืออากาศโทวิญญู วิญญกุล อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาล เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2549 สรุปว่า ตามที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสอง เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2542 และวันที่ 16 ธันวาคม 2542 ตามลำดับ โดยกล่าวหาว่า จำเลยทั้งสองกับพวกที่ยังไม่ได้ตัวมาฟ้องร่วมกันกระทำผิด

โจทก์ขอเรียนว่า การดำเนินคดีนี้สืบเนื่องจากจำเลยที่ 1 กับพวก ไม่ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่มีว่า ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำสั่งสอน โดยกล่าวหาว่าพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือนแตกแยกออกไปกลายเป็นสองฝ่าย มีความเข้าใจความเชื่อถือ พระพุทธศาสนาตรงกันข้าม เป็นการทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้สงฆ์แตกแยกเป็นอนันตริยกรรม มีโทษทั้งปัจจุบันและอนาคตที่หนัก ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการทำที่ถูกต้องคือ ต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที ไม่ได้คิดให้มีโทษเพราะคิดในแง่ยกประโยชน์ให้ว่า ในชั้นต้นหากมิใช่มีเจตนาถือเอาสมบัติของวัดเป็นของตนจริงๆ แต่ เมื่อถึงอย่างไรก็ไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะที่เป็นพระคืนให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้งว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอม เป็นพระด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสียให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา

บัดนี้ข้อเท็จจริงในการเผยแผ่คำสอน ปรากฏจาก อธิบดีกรมการศาสนา ผู้อำนวยการสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เลขาธิการมหาเถรสมาคม และ เจ้าคณะภาค 1 ว่า ในปัจจุบันจำเลยที่ 1 กับพวก ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนา ตรงตามพระไตรปิฎก และนโยบายของคณะสงฆ์??? ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เป็นที่ยอมรับทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกิจการของศาสนา ทั้งของคณะสงฆ์ ภาครัฐ และเอกชนจำนวนมาก

สำหรับในด้านทรัพย์สินนั้น ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 กับพวก ได้มอบทรัพย์สินทั้งหมด ซึ่งมีทั้งที่ดินและเงินจำนวน 959,300,000 บาท คืนให้แก่วัดพระธรรมกาย การกระทำดังกล่าวของจำเลยที่ 1 กับพวก จึง เป็นการปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ครบถ้วนทุกประการแล้ว???

ขณะเดียวกัน ขณะนี้บ้านเมืองต้องร่วมกันสร้างความสามัคคีของคนในชาติทุกหมู่เหล่า เห็นว่าหากดำเนินคดีกับจำเลยทั้งสองต่อไป อาจก่อให้เกิดความแตกแยกในศาสนจักร โดยเฉพาะพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั้งในและต่างประเทศ ที่นับถือศาสนาพุทธ และไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณะ

อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งให้ถอนฟ้องคดีนี้ ดังนั้น โจทก์จึงขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสองในคดีนี้ทุกข้อกล่าวหา ขอศาลโปรดอนุญาต เมื่อศาลได้สอบถามว่าจำเลยทั้งสองจะคัดค้านหรือไม่ ซึ่งจำเลยทั้งสองแถลงว่า ไม่คัดค้าน พิเคราะห์แล้วเห็นว่า โจทก์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง ก่อนศาลมีคำพิพากษา โดยอ้างเหตุดังข้างต้น เมื่อจำเลยทั้งสองไม่คัดค้านที่โจทก์ถอนฟ้อง จึงมีเหตุสมควรที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องจำเลยทั้งสอง ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 35 ศาลจึงอนุญาตให้ถอนฟ้องจำเลยทั้งสองและจำหน่ายคดีของโจทก์ออกจากสารบบความของศาลอาญา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คดีนี้ได้มีการสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว อยู่ระหว่างการสืบพยานจำเลย ซึ่งที่ผ่านมามีการสืบพยานไปแล้วเกือบ 100 ครั้ง เหลือการสืบพยานอีกเพียง 2 ครั้ง ในวันที่ 23-24 สิงหาคม นี้ นายอรรถพล ใหญ่สว่าง อธิบดีอัยการคณะกรรมการอัยการ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า การถอนฟ้องคดีก่อนศาลจะมีคำพิพากษา สามารถทำได้ ซึ่งในอดีตอัยการสูงสุด เคยยื่นคำร้องขอถอนฟ้องแล้วเช่น ความผิด พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ คดีกบฏ ผู้ก่อการร้าย

สำหรับคดียักยอกทรัพย์วัดพระธรรมกาย ที่อัยการยื่นฟ้องต่อศาลอาญามีเพียง 2 คดีเท่านั้น คงเหลือสำนวนคดียักยอกทรัพย์ที่รอการสั่งคดีในชั้นอัยการอีก 3 สำนวน ได้แก่
- 1.คดีที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ นางกมลศิริ คลี่สุวรรณ และนายมัยฤทธิ์ ปิตะวนิค ลูกศิษย์คนสนิท เป็นผู้ต้องหา ซึ่งถูกกล่าวหาว่า ร่วมกันเบียดบังนำเงินวัดจำนวน 95 ล้านบาทเศษไปซื้อที่ดิน
- 2.คดีที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ นางสงบ ปัญญาตรง นายมัยฤทธิ์ ปิตะวนิค และนายชาญวิทย์ ชาวงษ์ ลูกศิษย์คนสนิท เป็นผู้ต้องหา เบียดบังเงินจำนวน 845 ล้านบาทเศษ และ
-3.คดีที่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ร่วมกับนายเทิดชาติ ศรีนพรัตน์ นายมัยฤทธิ์ ปิตะวนิค และนางอมรรัตน์ สุวิพัฒน์ หรือสีกาตุ้ย ลูกศิษย์คนสนิท ผู้ต้องหา ร่วม
กันปลอมแปลงเอกสารและสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

โดยเมื่ออัยการสูงสุดมีนโยบายให้ถอนฟ้อง การสั่งคดีของพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 ก็จะต้องมีความเห็นให้ยุติการสั่งคดีไว้ เนื่องจากการดำเนินคดีจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ทั้งนี้เป็นไปตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ.2547 ข้อ 78 และ 128 โดยเมื่อยุติการสั่งคดีก็ต้องถือว่าคดีนี้สิ้นสุดลงตามกระบวนการทางกฎหมายทันที ซึ่งจำเลยทั้งสองได้คืนที่ดินและเงินที่ก่อความเสียหายรวมมูลค่า 959,300,000 บาท ให้แก่วัดพระธรรมกายแล้ว