หลักฐานที่ธรรมกายสอนผิดๆว่า "นิพพานเป็นอัตตา"
หลักฐานที่ธรรมกายสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา
1.มงคลชีวิต ฉบับธรรมทายาท พระสมชาย ฐานวุฑฺโฒ พิมพ์ครั้งที่ 10/2541 หน้า 324
"นิพพาน เป็นอัตตาเป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง"
2.กำเนิดโลกและมนุษยชาติ พระเผด็จ ทตฺตชีโว พิมพ์ครั้งที่ 2 มกราคม 2537 หน้า 49 ย่อหน้าแรก
"ธรรมแรกที่เกิดด้วยอำนาจบุญที่เราสร้างมาดีแล้ว ด้วยตาของเราเอง ด้วยความเพียร ไม่ย่อหย่อนด้วยหิริโอตตัปปะ ด้วยอัตตาหิอัตตโน นาโถ ด้วยกำลังความสามารถของเราเองนี่แหละ เป็นนิจจัง เป็นสุขขัง เป็นอัตตา ถึงเวลานั่นแหละเข้านิพพาน นี่ก็เป็นอย่างนี้ นี่คือสภาพของโลกเรา"
--------------
วัดพระธรรมกายสอนว่า “ธรรมกายเป็นอัตตา” [พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว), พระแท้, มูลนิธิธรรมกาย, 2540, หน้า 323-328] และสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา ดังนี้
โอวาทพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 เรื่อง “เป้าหมายของชีวิต” ความว่า
“เป้าหมายของการเกิดเป็นมนุษย์คือ การแสวงหาพระนิพพาน ทำพระนิพพานให้แจ้ง ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือมุ่งจะไปพระนิพพาน นั่นคือ วัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะ พระนิพพานเป็นแดนแห่งบรมสุข เป็นเอกันตบรมสุข มีสุขอย่างเดียว ไม่มีความทุกข์เจือปนเลย ไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หรือประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความผิดหวัง ความเศร้า ซึม เซ็ง เครียด เบื่อ กลุ้ม ความปวด ความเมื่อย โรคภัยไข้เจ็บอะไรไม่มีเลย มีแต่สุขอย่างเดียว เรียกว่า เอกันตบรมสุข ... และเป็นที่รวมประชุมแห่งผู้มีอานุภาพ เป็นผู้ที่เป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากสิ่งที่เขาบังคับบัญชากันมายาวนาน เป็นที่ ๆ คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีสุขล้วน ๆ เป็นตัวของตัวเอง ที่เรียกว่าอัตตา เป็นตัวจริง เป็นนิจจัง เป็นสุขขัง เป็นอัตตา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง” (มูลนิธิธรรมกาย, อานุภาพพระมหาสิริราชธาตุ เล่ม 11, บริษัทฐานการพิมพ์ จำกัด, 2541, หน้า 26)
----
(** สุขขัง เป็นการเขียนผิด ที่ถูกต้องเป็น สุขัง, หนังสือ มงคลชีวิตฉบับธรรมทายาท เขียนเป็น สุขัง ในขณะที่หนังสือ อานุภาพมหา-สิริราชธาตุ เล่ม11 เขียน สุขขัง , หลักที่แท้จริงมีว่า ถ้าเป็นฝ่ายลำบาก จะสะกดด้วยอักษาที่หนักตัวหน้า เป็นเสียงครุ เช่น ทุกขัง, ทุจจริต แต่ถ้าเป็นฝ่ายสบาย จะไม่สะกดด้วยอักษรตัวหน้า เป็นเสียงลหุ เช่น สุขัง, สุจริต เป็นต้น อาจเป็นข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าผู้เขียนมิได้มีความรู้ทางภาษาบาลีอย่างแท้จริง**)
1.มงคลชีวิต ฉบับธรรมทายาท พระสมชาย ฐานวุฑฺโฒ พิมพ์ครั้งที่ 10/2541 หน้า 324
"นิพพาน เป็นอัตตาเป็นตัวตนที่แท้จริง บังคับบัญชาได้ เที่ยงแท้แน่นอน ไม่มีการเปลี่ยนแปลง"
2.กำเนิดโลกและมนุษยชาติ พระเผด็จ ทตฺตชีโว พิมพ์ครั้งที่ 2 มกราคม 2537 หน้า 49 ย่อหน้าแรก
"ธรรมแรกที่เกิดด้วยอำนาจบุญที่เราสร้างมาดีแล้ว ด้วยตาของเราเอง ด้วยความเพียร ไม่ย่อหย่อนด้วยหิริโอตตัปปะ ด้วยอัตตาหิอัตตโน นาโถ ด้วยกำลังความสามารถของเราเองนี่แหละ เป็นนิจจัง เป็นสุขขัง เป็นอัตตา ถึงเวลานั่นแหละเข้านิพพาน นี่ก็เป็นอย่างนี้ นี่คือสภาพของโลกเรา"
--------------
วัดพระธรรมกายสอนว่า “ธรรมกายเป็นอัตตา” [พระภาวนาวิริยคุณ (เผด็จ ทัตตชีโว), พระแท้, มูลนิธิธรรมกาย, 2540, หน้า 323-328] และสอนว่า นิพพานเป็นอัตตา ดังนี้
โอวาทพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ.2541 เรื่อง “เป้าหมายของชีวิต” ความว่า
“เป้าหมายของการเกิดเป็นมนุษย์คือ การแสวงหาพระนิพพาน ทำพระนิพพานให้แจ้ง ถ้าพูดเป็นภาษาชาวบ้านก็คือมุ่งจะไปพระนิพพาน นั่นคือ วัตถุประสงค์ของการเกิดมาเป็นมนุษย์ เพราะ พระนิพพานเป็นแดนแห่งบรมสุข เป็นเอกันตบรมสุข มีสุขอย่างเดียว ไม่มีความทุกข์เจือปนเลย ไม่มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีการพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หรือประสบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความผิดหวัง ความเศร้า ซึม เซ็ง เครียด เบื่อ กลุ้ม ความปวด ความเมื่อย โรคภัยไข้เจ็บอะไรไม่มีเลย มีแต่สุขอย่างเดียว เรียกว่า เอกันตบรมสุข ... และเป็นที่รวมประชุมแห่งผู้มีอานุภาพ เป็นผู้ที่เป็นตัวของตัวเอง เป็นอิสระจากสิ่งที่เขาบังคับบัญชากันมายาวนาน เป็นที่ ๆ คงที่ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง มีสุขล้วน ๆ เป็นตัวของตัวเอง ที่เรียกว่าอัตตา เป็นตัวจริง เป็นนิจจัง เป็นสุขขัง เป็นอัตตา ไม่มีการเปลี่ยนแปลง” (มูลนิธิธรรมกาย, อานุภาพพระมหาสิริราชธาตุ เล่ม 11, บริษัทฐานการพิมพ์ จำกัด, 2541, หน้า 26)
----
(** สุขขัง เป็นการเขียนผิด ที่ถูกต้องเป็น สุขัง, หนังสือ มงคลชีวิตฉบับธรรมทายาท เขียนเป็น สุขัง ในขณะที่หนังสือ อานุภาพมหา-สิริราชธาตุ เล่ม11 เขียน สุขขัง , หลักที่แท้จริงมีว่า ถ้าเป็นฝ่ายลำบาก จะสะกดด้วยอักษาที่หนักตัวหน้า เป็นเสียงครุ เช่น ทุกขัง, ทุจจริต แต่ถ้าเป็นฝ่ายสบาย จะไม่สะกดด้วยอักษรตัวหน้า เป็นเสียงลหุ เช่น สุขัง, สุจริต เป็นต้น อาจเป็นข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าผู้เขียนมิได้มีความรู้ทางภาษาบาลีอย่างแท้จริง**)
0 Comments:
<< Home